(1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ คัดเลือกพื้นที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน (พื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล) ที่มีความเหมาะสมจะพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal)
(2) เพื่อวางแผนแม่บทการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน (พื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล) และทำการศึกษาความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ วิศวกรรม สิ่งแวดล้อมและสังคม พร้อมทั้งประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อก่อสร้างท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ตลอดจนใช้เป็นยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว ที่ยั่งยืน
(3) เพื่อสำรวจและออกแบบองค์ประกอบโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน (พื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล) เพื่อรองรับการให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างครบวงจรสอดคล้องกับรูปแบบการท่องเที่ยวเดินเรือสำราญ โดยให้มีผลกระทบด้านลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตลอดจนประมาณ ค่าก่อสร้าง แบบรายละเอียดเบื้องต้น รายการประกอบแบบ ข้อกำหนดและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการดำเนินงานในขั้นต่อไป
(4) เพื่อเสนอแนะและสำรวจออกแบบปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ตให้เป็นท่าเรือที่สามารถรองรับเรือสำราญ ขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ
(5) เพื่อจัดทำรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน (พื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล) ให้เป็นไปตามมาตรา 22 ถึงมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
พ.ศ.2562 และให้กรมเจ้าท่า สามารถเสนอโครงการตามที่กำหนดในมาตรา 28 และ 29 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ