1) ผลการคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพบริเวณชายฝั่งอันดามัน (พื้นที่จังหวัดระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล) ที่มีความเหมาะสมจะพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) พร้อมทั้งบทบาทของท่าเทียบเรือแต่ละแห่งว่ามีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นท่าเรือต้นทาง ท่าเรือแวะพักแบบจอดเทียบเรือ หรือท่าเรือแวะพักแบบจอดทอดสมอ เป็นต้น
2) แผนแม่บทการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน และผลการศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางน้ำ (Maritime Hub Tourism) โดยใช้โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) เป็นโครงการหลักในการบูรณาการโครงการอื่น ๆ ให้สามารถเติบโตสนับสนุนซึ่งกันและกันต่อไปได้ในอนาคต เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำได้อย่างครบวงจรและยั่งยืน
3) ผลการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นทางด้านวิศวกรรม โครงสร้างท่าเทียบเรือ ตามศักยภาพที่สมควรจะได้รับการพัฒนา ทั้งที่เป็นท่าเทียบเรือแวะพัก (Port of Call) และท่าเทียบเรือต้นทาง (Home Port)
4) ผังแม่บท ผลการสำรวจออกแบบและปรับปรุงท่าเทียบเรือน้ำลึกภูเก็ตให้เป็นท่าเรือที่สามารถรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่มีความเหมาะสมตามศักยภาพ
5) รายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ประกอบด้วย ผลการออกแบบเบื้องต้นของโครงการตามทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ประมาณการค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและด้านอื่นๆ ผลการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน รายละเอียดข้อมูลผลการศึกษาในแต่ละด้าน และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ และการพัฒนาโครงการในขั้นต่อไป
6) รายงานผลการสำรวจและออกแบบรายละเอียดเบื้องต้นของโครงการตามทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ที่มีรูปแบบรายละเอียดเพียงพอสำหรับใช้ประกอบการดำเนินงานศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุน
7) รายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่ (Cruise Terminal) ที่บริเวณชายฝั่งอันดามัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 22 ถึงมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้กรมเจ้าท่าสามารถเสนอโครงการตามที่กำหนดในมาตรา 28 และ 29 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ